ในสองวันนี้(เมื่อวานและวันนี้)สภาผู้แทนราษฎร กำลังเป็นที่จับตาของสังคม ถึงการแก้ไขปัญหาทางการเมืองโดยเฉพาะการเมืองนอกสภา เพราะว่าหากสามารถหาทางออกหรือข้อตกลงร่วมกันบางอย่างได้จากสองญัตติในสภา ก็อาจจะจบเกมการเมืองนอกสภาไปเลยก็ได้
แต่คงยาก?
เมื่อวานนี้ที่ประชุมสภาได้มี “ญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป” เพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรีในเรื่องวิกฤติทางเศรษฐกิจและวิกฤติทางการเมือง โดยไม่มีการลงมติ เป็นเวทีสำคัญตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่ให้สมาชิกสภาผู้แทนสามารถอภิปรายรัฐบาลเช่นนี้ได้ และก็เป็นไปอย่างที่คาด ประเด็นหลักในการอภิปราย การบริการประเทศโดยเฉพาะประเด็นปัญหาทางเศรษฐกิจ ตั้งแต่การกู้เงินและการบริหารจัดการที่ไม่ตรงจุด การช่วยเหลือประชาชนช่วงโควิดที่เข้าถึงประชาชนแบบไม่ทั่วถึง และมีตกหล่น อภิปรายย้อนไปถึงการบริหารของนายกฯประยุทธ์ที่นับเอาตั้งแต่ 6 ปีก่อน มาจนถึงเรื่องเรือดำน้ำ แต่ที่นอกเหนือจากปัญหาเศรษฐกิจและการบริหารที่ผ่านมาแล้ว ก็คือปัญหาการเมืองและข้อเรียกร้องทางการเมืองในปัจจุบัน โดยเฉพาะประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
และตอนนี้พรรคการเมืองทั้งในฝ่ายค้านและในฝ่ายรัฐบาลเองก็ได้มีการเสนอให้แก้รัฐธรรมนูญ รวมถึง สว.บางส่วนก็ยังเสนอให้มีการแก้ไข จึงนับว่าเป็นประเด็นสำคัญที่บีบให้รัฐบาล และพลเอกประยุทธ์ต้องตัดสินใจบางอย่าง แต่ในอีกทางหนึ่งอาจกำลังกลายเป็นทางออกสำหรับปัญหาการเมืองด้วย
ความพยายามในการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มีมาตั้งแต่ต้นของการจัดตั้งรัฐบาลและเป็นหนึ่งในข้อตกลงเข้าร่วมรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ว่ายอมเข้าร่วมด้วยต้องมีเงื่อนไขนี้ อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นไม่ได้มีความชัดเจนในการแก้ไขและด้วยกลไกตามรัฐธรรมนูญ 2560 ก็ยากมากที่จะแก้ไข แต่ก็ไม่ได้ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย เพราะเมื่อปลายปีที่แล้วรัฐสภาก็ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ที่มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาคที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยการลงมติในครั้งนั้นได้รับความเห็นชอบทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านมติเอกฉันท์ 445 เสียง
โดยที่ผ่านมาตลอด 8 เดือน คณะกรรมาธิการได้พิจารณาเริ่มตั้งแต่หมวดแรกไล่มาเรื่อยๆจนหมวดสุดท้ายของรัฐธรรมนูญ ซึ่งประเด็นที่จะเสนอต่อสภาฯจะมีเกือบทุกหมวด โดยจะสรุปทั้งที่เป็นข้อดี ข้อเสีย และข้อเสนอแนะ รวมถึงแนวทางต่างๆ แต่สิ่งที่หลายฝ่ายยอมรับว่ากลไก สว.คือกลไกสำคัญกลไกหนึ่งที่จะทำให้เกิดหรือไม่เกิดการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
อย่างไรก็ตาม ล่าสุดเมื่อวันที่ 31 สิงหาคมที่ผ่านมานี้เอง คณะกรรมาธิการก็ได้ส่งมอบรายงานรวม 145 หน้าให้กับประธานสภาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้ถูกบรรจุเป็นวาระในการพิจารณาของสภาในวันที่ 10 กันยายน)ซึ่งเป็นช่วงที่การเมืองนอกสภาก็ร้อนแรงเช่นกัน
แม้ฝ่ายการเมืองและนักวิชาการได้มีการเสนอความเห็นต่อการเรียกร้องให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาโดยตลอด แต่ก็ดูเหมือนไร้แวว จนกระทั่งช่วงที่ผ่านมา ได้มีการออกมาชุมนุมของเยาวชน ที่มาพร้อมกับ 3 ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล และ 1 ในข้อเรียกร้อง ก็คือการเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย โดยให้เหตุผลว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่เป็นประชาธิปไตย และฉบับใหม่ต้องมาจากสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร) เท่านั้น เพื่อให้เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนอย่างแท้จริง ข้อเรียกร้องแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่มผู้ชุมนุมในครั้งนี้ ก็มีนักการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านออกมาสนับสนุน แต่ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ต่างก็มีข้อเสนอที่หลากหลายแตกแตกต่างกันแม้กระทั่งในฝ่ายค้านด้วยกันเองก็ตาม
แต่แนวทางที่ดูจะเป็นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดจากกลุ่มผู้ชุมนุม ดูจะเป็นการเสนอให้แก้มาตรา 256เพื่อเป็นการเปิดประตูให้เกิดสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ให้สามารถเข้ามาร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่จะเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง เนื่องจากการเสนอให้มีการแก้ในมาตรานี้ ได้รับความเห็นที่สอดคล้องกันระหว่างพรรคร่วมฝ่ายค้านและฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรค แม้ว่าจะยังมีความเห็นที่แตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่เนื้อหาหลักยังตรงกันทำให้หลายฝ่ายเชื่อว่าแนวทางนี้ก็อาจจะเป็นไปได้
ต่อมามีอีกแนวทางหนึ่งที่ได้รับการเสนอเข้ามา โดยแนวทางนี้จะเป็นการแก้ไขรายมาตราไปเลยที่คิดว่าไม่เป็นประชาธิปไตย คือ การเสนอให้มีการแก้มาตรา 272 ในประเด็นที่ตัดอำนาจ สว. ในการโหวตเลือกนายก ซึ่งในการแก้ไขมาตรานี้ก็มี สว. หลายคนออกมาสนับสนุนรวมไปถึงการแก้ไขให้มีการกลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และมีการคำนวณคะแนนเลือกตั้งแบบเดิมเพื่อป้องกันความสับสน โดยกลุ่ม สว.ที่สนับสนุนแนวทางแบบนี้ อ้างว่า การแก้ไขแบบรายมาตราสามารถทำได้รวดเร็วกว่า รวมไปถึงการประหยัดงบประมาณได้จำนวนมาก เนื่องจากเห็นว่าเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.)ก็ไม่ได้เป็นอิสระจริง แต่อาจจะอยู่ภายใต้ร่มเงาของ สส.และพรรคการเมืองอยู่แต่ละสังกัดอยู่ดี?
แต่สิ่งที่อาจต้องพิจารณาทำความเข้าใจด้วยก็คือ การแก้ไขมาตรา 272 ดังกล่าวนี้ เรื่องการริบอำนาจการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีนั้น อาจมีความหมายว่า “ปิดสวิตช์ สว.” ซึ่งในความเป็นจริงแล้วดูจะไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะตามเงื่อนไขเดิมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าจะแก้ไขในมาตราใด ก็ต้องได้รับความร่วมมือจาก สว.โดยต้องได้รับเสียงสนับสนุนไม่ต่ำกว่า 84 เสียง หรือเป็น 1 ใน 3 จากเสียงทั้งหมด จึงจะสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญได้สำเร็จ
ซึ่งในขณะนี้ สว. ทั้ง 250 คน เสียงยังคงแตก และต่างคนก็ต่างมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน ว่าจะสนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบใด โดยมีสื่อไปรวบรวมมาแล้วว่าในตอนนี้เสียงของ สว. สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มคร่าวๆ คือ มีทั้งลดอำนาจสว.ในการเลือกนายกฯ และแบบที่ไม่พูดถึง มีทั้งแก้รายมาตรา หรือแก้แบบตั้งส.ส.ร.ไปเลย และยังมีกลุ่มที่ยังไม่ตัดสินใจ ที่อาจนับว่าเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด และแม้ในกลุ่มที่จะให้ตั้ง ส.ส.ร.เองก็ยังมีความแตกต่างกันในรูปแบบ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจของสว.จะเป็นส่วนสำคัญที่สุดต่อการจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือไม่
แม้ว่าในนาทีนี้ เมื่อพิจารณารอบด้านแล้วก็ยังถือว่าไม่มีแนวทางใดที่ทุกฝ่ายมีความเห็นร่วมกันว่าจะออกมาในทางไหนมากกว่ากัน ระหว่างการแก้ไขมาตรา 256 เพื่อนำไปสู่การมีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร) มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ หรือจะเป็นแนวทางการแก้ไขรายมาตราที่คิดว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เช่น ในมาตรา 272 การลดอำนาจ สว.ในเรื่องการโหวตเลือกนายกฯ โดยให้เป็นอำนาจของสภาผู้แทนฯเท่านั้น หรือการแก้ไขระบบเลือกตั้งให้กลับไปใช้บัตร 2 ใบและการคิดคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อตามแบบเดิม หรือมาตราเกี่ยวกับที่มา สว. จะแก้ไขให้ สว.มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นต้น ซึ่งมาตรา ที่กล่าวมานี้จริงๆ เป็นแค่จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ถ้าหากได้มีการตั้งส.ส.ร.แล้ว ละก็คาดว่าจะยิ่งมีการเสนอให้แก้ไขอีกหลายมาตราจนไม่รู้ว่ากระบวนการจะสิ้นสุดเมื่อไหร่และจะจบลงแบบลงตัวอย่างไร
ถึงอาจจะยังคาดเดาไม่ได้ว่าการยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้จะออกมาในทิศทางไหน จะสำเร็จหรือไม่? เพราะต้องยอมรับว่ามีองค์ประกอบสำคัญที่ปฏิเสธไม่ได้ และหากต้องการแก้ข้อกำหนดบางอย่างแล้วเงื่อนไขคือต้องพึ่งพาเสียงของ สว.อย่างน้อย 84 เสียง ถึงจะสำเร็จ แต่ก็ยังดีกว่าไม่ขยับอะไรเลยเพราะอาจต้องคำนึงเสียงที่อยู่นอกสภาตอนนี้ด้วย
“วันคืนปีเดือนล่วงไปไม่หยุดเลย จะคอยท่าให้ได้ทีก็จะแก่เสียเปล่า”
ลกซุน ฉบับ เจ้าพระยาพระคลัง(หน)
"สอง" - Google News
September 10, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/2RccpSo
คอลัมน์การเมือง - สองญัตติสภาฯปูทางแก้ปัญหาการเมือง - หนังสือพิมพ์แนวหน้า
"สอง" - Google News
https://ift.tt/3cPqHBD
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3d22Xu4
Bagikan Berita Ini
0 Response to "คอลัมน์การเมือง - สองญัตติสภาฯปูทางแก้ปัญหาการเมือง - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"
Post a Comment