Search

"สี จิ้นผิง" กับ "กลยุทธ์แก้จน" เมื่อ "ทางลัด" พิชิตเป้าหมาย พังทลาย - ไทยรัฐ

refe.prelol.com

เมื่อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ "โควิด-19" (COVID-19) แพร่ระบาดครั้งใหญ่ ทุบทำลายเศรษฐกิจโลก ประเทศจีนสั่งชัตดาวน์ทั่วประเทศเพื่อควบคุมและจำกัดการแพร่ระบาดที่อาจขยายเป็นวงกว้าง สร้างผลเสียอย่างรุนแรงต่อการจ้างงานและการผลิตในประเทศ แค่ไตรมาสแรกปี 2563 เศรษฐกิจจีนหดตัว 6.8% เทียบกับปีก่อนหน้า มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสมจนถึงตอนนี้ (ก.ย.) 85,000 คน ซึ่งทางนายกรัฐมนตรี "หลี่ เค่อเฉียง" ก็ออกมายอมรับเมื่อเดือนกรกฎาคม ว่า "ประชากรจีนส่วหนนึ่งจะยากจนลงเพราะการแพร่ระบาดครั้งใหญ่นี้"

"ก่อนที่โควิด-19 จะซัดเข้ามาเต็มแรง มีประชากรจีนราว 5 ล้านคนที่อยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจน แต่เพราะโรคร้ายที่ว่านั้นจึงอาจทำให้พวกเขาหลายๆ คนที่พ้นมาแล้ว ย้อนกลับไปสู่ความยากจนอีกครั้ง ด้วยสถานการณ์ที่พวกเราเผชิญอยู่ตอนนี้เป็นความเสี่ยงที่หนักหนาสาหัสมากเกินกว่าที่จะมีโอกาสพิชิตเป้าหมายได้สำเร็จ"

ดังนั้น หนทางหนึ่งที่จะทำให้ประธานาธิบดี "สี" พิชิตเป้าหมายแก้จนสำเร็จ คือ ประชากรจีนสามารถกลับไปสู่ระบบการทำงานได้โดยเร็ว

จากการสำรวจครอบครัวชาวจีนของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด พบว่า ในช่วง 4 เดือนแรกของปี ประชากรจีนหลายหมู่บ้านกว่า 92% ยอมรับว่า รายได้ลดลงจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ หรือเรียกได้ว่า การจ้างงานของแรงงานชนบทเป็น 0 อย่างแท้จริงในช่วงเดือนแรกหลังเริ่มต้นการกักตัว ซึ่งในเดือนมีนาคม รวมๆ กันแล้วสูญเสียรายได้เฉลี่ย 2,000-5,000 หยวน หรือประมาณ 9,183-22,957 บาท

ถ้ายังไม่ลืมกัน...จุดเริ่มต้นการปรากฏการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 มีความเชื่อมโยงกับ "ตลาดอาหารทะเล" ในเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ประเทศจีน ซึ่งเป็นแหล่งค้าสัตว์ป่าขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อวันที่ 21 เมษายน องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ยืนยันผ่านการแถลงข่าวว่า "ไวรัสโควิด-19 มีต้นตอมาจากสัตว์"

ถามว่าแล้วเกี่ยวอะไรกับ "ตำราแก้จน" ของท่านแม่ทัพสี?

สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน
สี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน

จากการพิเคราะห์จากนักวิจัยมองว่า โควิด-19 ยังคงมีความน่าสงสัยเกี่ยวกับ "โฮสต์ตัวกลาง" ที่อาจเกี่ยวเนื่องกับ "อุตสาหกรรมสัตว์ป่า" ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดดจากมาตรการกระตุ้นหลุดพ้นความยากจน

เมื่อปี 2546 เกิดโรคระบาดทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ "โรคซาร์ส" (SARS) ในประเทศจีน ซึ่งสาเหตุก็มาจากการค้าสัตว์ในตลาดมืด จนนำไปสู่การหันมาทบทวนข้อบังคับ "การค้าสัตว์ป่า"

แต่แล้ว...ความทรงจำของความหายนะก็ค่อยๆ จางหายไป

หลังจากขยายแคมเปญ "หลุดพ้นความยากจน" ไปทั่วประเทศนับตั้งแต่ปี 2556 ผู้นำท้องถิ่นต่างต้องเผชิญกับแรงกดดันทางการเมืองในการพิชิตเป้าหมาย จึงมองหา "ทางลัด" ด้วยวิธีการหันไปพึ่ง "อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์และเพาะพันธุ์สัตว์ป่า"

รัฐบาลท้องถิ่นหลายระดับได้แก้ข้อบังคับเกี่ยวกับสัตว์ป่าและประกาศนโยบายล่อใจคนจน คนชนบท รวมถึงแรงงาน ให้เข้าสู่ "อุตสาหกรรมสัตว์ป่า" เต็มรูปแบบ

"อุตสาหกรรมสัตว์ป่า" ประสบความสำเร็จมากแค่ไหน?

คำตอบ คือ

1. ความต้องการผู้บริโภค (อุปสงค์) ตลอดกาลของตลาดใหญ่ๆ ในประเทศจีน คือ เนื้อสัตว์ ขนสัตว์ และชิ้นส่วนอื่นๆ ของสัตว์ป่า เพื่อใช้ทำอาหาร เครื่องแต่งกาย หรือวัตถุดิบการแพทย์แผนโบราณ เรียกว่าล้นทะลัก ตัวอย่างเช่น ในปี 2559 ความต้องการต่อปีของ "สะเก็ดตัวนิ้ม" ที่เชื่อว่าลดอาการบวมและกระตุ้นการห้ามเลือด มีปริมาณสูงถึง 300 ตัน

2. อุตสาหกรรมสัตว์ป่า มีอุปสรรคในการเข้าตลาดที่ต่ำมากๆ แค่มีทักษะพื้นฐานเกี่ยวกับการล่าและการเพาะพันธุ์สัตว์ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งปกติแล้ว ประชากรในชนบทมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องอยู่แล้ว

3. การเลี้ยงและเพาะพันธุ์สัตว์ป่า สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ชุมชนที่ไม่มีอะไรน่าดึงดูดใจ อย่างบางเมืองเรียกว่าอุทิศให้กับการเพาะพันธุ์สัตว์เลยก็ว่าได้ โดยเฉพาะสัตว์ป่า ซึ่งคิดเป็นเกือบทั้งหมดของรายได้ภาษีท้องถิ่น

ไม่เพียงเท่านั้น จากรายงานของสถาบันวิศวกรรมแห่งชาติจีนที่ตีพิมพ์เมื่อปี 2560 พบว่า ในปี 2559 ประชากรจีน 14.1 ล้านคน หรือราวๆ 1% ของประชากรจีนทั้งหมด ทำงานในอุตสาหกรรมเลี้ยงและเพาะพันธุ์สัตว์ป่า มีมูลค่าตลาดราว 5.2 แสนล้านหยวน หรือประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท และมีความเป็นไปได้ว่า การค้าชะมดกว่า 80,000 ตัว ในปี 2559 ที่แพร่กระจายไปทั่วประเทศ เช่น มณฑลเจียงซีที่อุทิศพื้นที่มากกว่า 63 ไร่ เป็นฟาร์มเลี้ยงชะมดกว่า 200 ฟาร์ม อาจเป็นโฮสต์ตัวกลางของโรคซาร์ส และเป็นหนึ่งในข้อสงสัยว่าเป็นโฮสต์โควิด-19

แม้จะมีรายงานออกมาว่า "อุตสาหกรรมสัตว์ป่า" ช่วยหนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนและลดความยากจนอย่างมีนัยสำคัญ แต่ก็ยอมรับว่ามีความน่ากังวลถึง "จุดอ่อน" ในข้อบังคับอุตสาหกรรมฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเอาใจใส่ดูแลสุขอนามัย ซึ่งภายใต้โมเดลธุรกิจแบบกระจายอำนาจของการเลี้ยงสัตว์ในครัวเรือน เกษตรกรมักขาดการรับรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการควบคุมโรค หลายครั้งถูกเพิกเฉย ยิ่ง "อุตสาหกรรมสัตว์ป่า" เติบโตรวดเร็วก็เพิ่มความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากสัตว์สู่คนผ่านการสัมผัสบ่อยๆ และซ้ำๆ ได้เรื่อยๆ

โควิด-19 แพร่ระบาดครั้งใหญ่ รัฐบาลจีนก็รีบล้อมคอก?

วันที่ 26 มกราคม 2563 รัฐบาลจีนเริ่มกำหนดข้อบังคับที่เข้มงวดมากขึ้นเกี่ยวกับ "อุตสาหกรรมสัตว์ป่า" องค์กรภาครัฐส่วนกลางหลายแห่งขานรับทันที ด้วยการสั่ง "แบน" การค้าสัตว์ป่าทั้งหมด

แต่มาตรการป้องกันโรค ดันฉุดความยากจนกลับไปเหมือนเดิม (หรือหนักกว่า?)

ประชากรจีนหลายล้านครัวเรือนในภูมิภาคด้อยพัฒนาที่พึ่งพา "ธุรกิจสัตว์ป่า" ในการดำรงชีวิต และมีส่วนพัฒนาเศรษฐกิจ เมื่อถูก "แบน" การค้าสัตว์ป่าอย่างทันทีทันใด ก็ต่างได้รับความเจ็บปวดอย่างถ้วนหน้า แรงงานชนบทถูกเลิกจ้าง รายได้ภาษีท้องถิ่นลดลงอย่างหนัก

เป็นไปได้ว่า หลังการแพร่ระบาดโควิด-19 จบสิ้นลง "อุตสาหกรรมสัตว์ป่า" อาจตกอยู่ในสภาวะยากลำบาก จนนำไปสู่การพลาดเป้าหลุดพ้นความยากจน คงเป็นทางที่ "แม่ทัพสี" ต้องเลือก...ระหว่างยอมให้ประชากรจีนหลายๆ ครัวเรือนกลับไปอยู่ต่ำกว่าเส้นความยากจนอีกครั้ง หรือจะยอมให้อุตสาหกรรมสัตว์ป่ากลับมาและเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ในอนาคต.

ผู้เขียน: เหมือนพระอาทิตย์
กราฟิก: Supassara Traiyansuwan

ข่าวน่าสนใจ:

ข้อมูลอ้างอิง:

- อัตราแลกเปลี่ยน 4.59 บาทต่อหยวน

Let's block ads! (Why?)



"พิชิต" - Google News
September 21, 2020 at 07:00AM
https://ift.tt/3mFoBK8

"สี จิ้นผิง" กับ "กลยุทธ์แก้จน" เมื่อ "ทางลัด" พิชิตเป้าหมาย พังทลาย - ไทยรัฐ
"พิชิต" - Google News
https://ift.tt/2TwDilR
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3d22Xu4

Bagikan Berita Ini

0 Response to ""สี จิ้นผิง" กับ "กลยุทธ์แก้จน" เมื่อ "ทางลัด" พิชิตเป้าหมาย พังทลาย - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.