ไวรัสโควิด-19 สามารถหลบซ่อนในที่ต่างๆได้ ถ้าไม่สามารถกำจัดได้หมดสิ้นในระยะแรกและกลไกของการกดหัวไวรัสในที่ต่างๆนั้นอาจไม่ได้ใช้กลไกเหมือนกันกับในระยะแรกก็ได้ และอาจแตกต่างกันในแต่ละเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ
ที่ผ่านมา การกลับเป็นใหม่ครั้งที่สองมีรายงานประปรายอยู่แล้วในประเทศจีนตั้งแต่ต้นปี 2563 แต่ไม่รุนแรง แต่ทั้งนี้ในอนาคตจะรุนแรงหรือไม่ก็ตาม คงไม่สามารถบอกได้
2–เกิดจากเชื้อจากภายนอกและเกิดการติดใหม่จริงครั้งที่สอง
ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะภูมิคุ้มกันที่จำเพาะต่อไวรัสโควิด-19 หลังจากที่เป็นครั้งแรกนั้น ต้องการทั้งภูมิที่ได้จากน้ำเหลือง และจากระบบเซลล์ภูมิคุ้มกัน
ภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองนั้นสลายตัวไปเร็วมากในระยะเป็นเดือน แม้ไม่ทุกคน แต่อย่างน้อย 15% ขึ้นไปจะหายไปใน 2-3 เดือน
ดังที่พบในการศึกษาในประเทศไทยในจังหวัดทางภาคใต้ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ทีมใบยาและพันธมิตรร่วมกับทางจังหวัด
แต่ถ้าระบบความจำของภูมิคุ้มกันไม่บกพร่อง แม้มีการติดเชื้อใหม่ก็จะมีการปลุก ระดมภูมิขึ้นมาต่อต้านไวรัสอย่างรวดเร็ว (anamnestic response) และทำให้ไม่มีอาการเลยหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ดังนั้น ไม่มีทางทราบได้ว่าการเป็นครั้งที่สองจากเชื้อภายนอกจะรุนแรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปัจจัยดังข้างต้น
นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับหน้าตาของเชื้อไวรัส ถ้ามีลักษณะรูปร่างหน้าตาผิดเพี้ยนไปจากเดิมจนระบบความทรงจำจำไม่ได้ ก็จะเป็นเสมือนติดเชื้อใหม่ ดังนั้น ความรุนแรงอาจจะมากหรือน้อยได้อย่างที่พบในการติดครั้งแรก
หรือในอีกกรณีหนึ่งรูปร่างหน้าตาแปลกไปบ้าง จำได้ แต่ไม่ทำลาย กลับชักชวนให้เข้าไปในบ้าน เข้าไปในเซลล์ภูมิคุ้มกันเสียเอง และเกิดการอักเสบอย่างรุนแรงกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งในลักษณะนี้เกิดขึ้นได้แน่นอน แต่จะมากหรือน้อย บ่อยเพียงใด?
และเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงในความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนโควิด-19 ความเป็นไปได้ของการติดเชื้อครั้งที่สอง ที่อาจจะเกิดจากเชื้อเดิมที่หลบซ่อนอยู่และปะทุขึ้นมาใหม่ หรือเกิดจากเชื้อใหม่ที่หน้าตาต่างจากเดิม และแล้วในที่สุดก็มีหลักฐานว่าการติดเชื้อครั้งที่สองมาจากข้างนอก และเป็นเชื้อใหม่
จากรายงานผู้ป่วยจากฮ่องกงอายุ 33 ปี แข็งแรงดี ติดเชื้อโควิด-19 ครั้งแรกมีอาการไข้มีเสมหะ เจ็บคอและปวดศีรษะสามวัน และได้รับการยืนยันจากการตรวจด้วยพีซีอาร์ในวันที่ 26 มีนาคม รับตัวเข้าโรงพยาบาลวันที่ 29 มีนาคม โดยที่อาการต่างๆดีขึ้นและออกจากโรงพยาบาลในวันที่ 14 เมษายน
การติดเชื้อครั้งที่สอง เป็นการติดเชื้อโดยที่ไม่มีอาการ ทั้งนี้ โดยได้เดินทางไปที่ประเทศสเปน และเมื่อกลับมาได้ตรวจเจอเชื้อในวันที่ 15 สิงหาคมและได้เข้ารับตัวในโรงพยาบาลใหม่
แต่แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ตาม พบว่าเชื้อไวรัสที่อยู่ทางช่องจมูกและลำคอด้านหลังมีปริมาณมากพอสมควร Ct=26.69 และค่าการอักเสบในเลือด CRP สูง=8.6 และค่อยๆลดลงตามลำดับ
โดยที่ยังพบความผิดปกติของระดับเกลือแร่ในเลือด มีโปแตสเซียมต่ำ ผู้ป่วยไม่ได้รับยาต้านไวรัสใดๆ
การตรวจหาภูมิคุ้มกันในเลือดระหว่างอยู่โรงพยาบาลวันที่หนึ่งถึงวันที่สามไม่พบภูมิคุ้มกัน IgG ต่อ nucleoprotein แต่ภูมิคุ้มกันเริ่มปรากฏในวันที่ห้า
การถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสในครั้งนี้พบว่าผิดแผกแตกต่างจากไวรัสที่เจอในเดือนมีนาคมโดยไวรัสที่ติดใหม่นี้
อยู่ในคนละกลุ่ม (clade/lineage) โดย ไวรัสครั้งแรกนั้นมี stop codon ที่ตำแหน่ง 64 ในท่อน orf8 ทำให้มี truncation ของ 58 กรดอะมิโน
ไวรัสที่ได้มาใหม่มีรหัสพันธุกรรมและกรดอะมิโนที่แตกต่างไป 23 และ 13 ตัวตามลำดับในโปรตีนเก้าชนิด ซึ่งรวมถึงโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการกระตุ้นเซลล์ของร่างกายทั้ง T และ B cells และมีการผันแปรของรหัสพันธุกรรมที่ตำแหน่งของ nsp6 L142F ซึ่งพบได้ยาก
การติดเชื้อครั้งที่สองนี้ห่างจากครั้งแรก 142 วัน โดยที่การติดเชื้อครั้งที่สองนี้ แม้ไม่มีอาการแต่ปริมาณของไวรัสที่ตรวจเจอมีปริมาณสูง และค่อยๆลดลงตามลำดับและมีการพัฒนาการสร้างภูมิคุ้มกัน ทั้งหมดนี้ส่อให้เห็นถึงการติดเชื้อใหม่จริง
คณะผู้รายงานได้ให้ความเห็นว่าไวรัสโควิด-19 น่าจะวนเวียนและแพร่กระจายไปอยู่อย่างต่อเนื่องแม้ว่าคนที่ติดเชื้อไปแล้วจะมีจำนวนมากก็ตามจนที่เรียกว่ามีภูมิคุ้มกันหมู่ หรือแม้แต่ได้รับวัคซีน แต่อาจไม่ สามารถป้องกันการติดเชื้อใหม่ได้
ไม่ต้องมีใครมาบอก ตอกย้ำ...ก็ต้องเชื่อละครับ อย่างที่หมอเรียนให้ทราบตั้งแต่เดือน มกราคมว่า ไวรัสนี้หาธรรมดาไม่ แต่กระบวนการป้องกันกลับแสนจะธรรมดา ใส่หน้ากาก ระวังตา ล้างมือ คงระยะห่าง กินสุก เท่านี้จริงๆ.
หมอดื้อ
"สอง" - Google News
September 20, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/3mDlBhm
การติดเชื้อโควิด–19 ใหม่ครั้งที่สอง หลังจากที่ติดเชื้อแบบมีอาการ ครั้งแรกไปแล้ว - ไทยรัฐ
"สอง" - Google News
https://ift.tt/3cPqHBD
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3d22Xu4
Bagikan Berita Ini
0 Response to "การติดเชื้อโควิด–19 ใหม่ครั้งที่สอง หลังจากที่ติดเชื้อแบบมีอาการ ครั้งแรกไปแล้ว - ไทยรัฐ"
Post a Comment