แต่กรอบภารกิจ 5 ด้านของพรรคล้วนมีอุปสรรคจากกลไกรัฐ ในสถานการณ์การเมือง 2 ขั้วต่อสู้กันรุนแรงมาก ท่ามกลางกลไกรัฐมีปัญหา พรรคกล้ากล้าประกาศปฏิรูประบบราชการอย่างไร นายกรณ์ บอกว่า...
...เราตั้งใจรื้อระบบล้าหลัง ทั้งระบบราชการ ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมือง
หลังประกาศเจตนาตั้งใจรื้อระบบราชการ มีผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ซึ่งอยู่ในแวดวงราชการมานานโทรศัพท์ติดต่อมาว่าเห็นด้วย อำนาจของข้าราชการอยู่ที่ลายเซ็น
อำนาจเป็นที่มาของความล่าช้า ความไม่สะดวก การทุจริตคอร์รัปชัน
การรื้อระบบราชการต้องยกเลิกการล่าลายเซ็นหลายระดับชั้นของข้าราชการ
โดยรื้อกฎหมาย กฎ ระเบียบที่ทับซ้อน ล้าหลัง ผู้นำสูงสุดต้องเอาจริง เพราะเป็นเรื่องยาก ถ้าไม่ทุบโต๊ะ เกาะติด ตามจี้ทุกวัน คงเกิดยาก น่าเสียดายช่วงรัฐบาล คสช. มีอำนาจสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้ สุดท้ายมันไม่เกิด
อีกวิธีที่ทำควบคู่กันไปต้องพึ่งพาความเปลี่ยนแปลงด้วยดิจิทัลเทคโนโลยี เพราะบางทีการสร้างความเปลี่ยนแปลงจากข้างในมันยาก ทุกภารกิจของราชการทั้งการกำกับ การตรวจ การให้บริการ สามารถเปิดให้ผู้ให้บริการที่มีวิธีการใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีสามารถมาทำแทนได้
เร็วกว่า สะดวกกว่า ต้นทุนถูกกว่า
ลดค่าใช้จ่ายได้อย่างมหาศาลให้ประเทศ
ขณะนี้ได้ทีมงานปฏิรูประบบราชการ แบ่งเป็นทีมกฎหมาย เพื่อรื้อกฎหมาย และทีมเทคโนโลยี เพื่อสร้างเทคโนโลยีแทน อย่างที่ผมไปดูที่ประเทศเอสโตเนีย ซึ่งระบบการให้บริการประชาชนทั้งหมดโดยรัฐ อยู่ในดิจิทัล
โดยมีโครงสร้างสำคัญ เช่น สิ่งที่ต้องมีเลย คือ ประชาชนคนไทยมีดิจิทัลไอดีประจำตัว แล้วทุกอย่างจะตามมา ถ้าระบบดิจิทัลไอดี ดีพอใช้แทนทุกอย่างได้ ไม่ต้องมีบัตรประชาชนในการแสดงตัวตน
เมื่อแสดงตัวตนในระบบดิจิทัลได้ หมายความว่า ทุกธุรกรรมทำผ่านระบบดิจิทัลได้ โดยไม่ต้องขอลายเซ็นหลายระดับชั้นของข้าราชการ ที่สำคัญโปร่งใสมาก ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน
สร้างระบบนี้ขึ้นมา ระบบปัจจุบันย่อมหายไปเอง
พูดเหมือนง่าย ความจริงไม่มีอะไรง่าย แต่ทำได้บนยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและตั้งใจทำจริง
เพราะเราสามารถรวมพลบุคลากรเหล่านี้ มาสร้างการเปลี่ยนแปลงประเทศได้ ถึงบอกพรรคกล้าเป็นแพลตฟอร์ม ไม่ได้เป็นพรรคที่รู้ทุกอย่าง แต่เปิดพื้นที่ให้ผู้รู้ นักปฏิบัติด้านต่างๆเข้ามาเชื่อมต่อนโยบายของประเทศหรือช่วยขับเคลื่อนประเด็นในระดับประเทศได้
พรรคกล้ามีแนวเชื่อมข้อดีระหว่างรัฐบาลกับขบวนการนักศึกษาที่เคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลอย่างไร เพื่อขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้า นายกรณ์ บอกว่า ขอทำหน้าที่คอยเสนอคำตอบในแต่ละเรื่องที่เป็นทางออกให้สังคม
เช่น ปัญหาความขัดแย้งในปัจจุบัน มีการเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และยุบสภา ถือเป็นสิทธิที่เรียกร้องได้ เช่นเดียวกันคนที่สนับสนุนรัฐบาลเรียกร้องให้ปฏิรูปประเทศมาก่อน สะท้อนให้เห็นว่าระบบในปัจจุบันไม่สมบูรณ์ การปฏิรูปไม่เกิดขึ้น
สรุปตรงกันมีเรื่องมากมายต้องยกเครื่อง รื้อใหม่ รัฐบาลควรเอาจริงกับด้านปฏิรูปประเทศ
สมมติการแก้รัฐธรรมนูญมันมีอุปสรรคมากมายตามกฎหมาย ถ้าฝ่ายมีอำนาจจริงใจ ยังมีช่องทางทำได้โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างรัฐบาล รัฐสภากับพรรคการเมือง
ถ้ากระแสสังคมต้องการความเปลี่ยนแปลง คิดว่าทุกอย่างก็ทำได้ ขอให้ทำในระบบ
อย่าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนอกระบบอีก
ควรให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนที่มีโอกาสเกิดการปะทะกัน นายกรณ์ บอกว่า อันดับแรกฝ่ายที่มีอำนาจควรฟังเสียงต่างด้วยเจตนาและความพร้อม นำประเด็นข้อกังวล ความต้องการไปสู่การปฏิบัติ
ขณะเดียวกันผู้เรียกร้องควรตระหนักว่ามีสิทธิอยู่ที่การเรียกร้อง ไม่มีสิทธิไปบังคับใครให้ทำอะไรตามที่ตัวเองต้องการ ตราบใดที่คนอื่นทำอยู่ไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ผิดกฎหมายว่าไปอย่าง แต่นี้มันถูกกฎหมายที่เราไม่ชอบ
ทางออกต้องเข้าสู่กระบวนการแก้กฎหมายนั้นให้ได้ โดยเริ่มต้นจากเคารพสถานะของทั้ง 2 ฝ่าย รัฐบาลควรเคารพสถานะของฝ่ายค้าน ซึ่งมีสิทธิ์ค้าน แสดงความเห็นไม่พอใจในแต่ละประเด็น ฝ่ายค้านควรเคารพความชอบธรรมในที่มาของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง
เคารพกติกาเดินหน้าแลกเปลี่ยนกัน เพื่อเปลี่ยนกติกาที่ไม่เหมาะสม เช่น อำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกฯ ฝ่ายมีอำนาจควรเปิดใจกว้างพูดคุย ทำไมยังต้องพึ่งอำนาจ ส.ว.เลือกนายกฯอยู่ เพราะถ้าไม่มีเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร แม้มีเสียง ส.ว.สนับสนุนให้ขึ้นเป็นนายกฯ กลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยก็อยู่ไม่ได้
ฉะนั้นในโลกแห่งความเป็นจริงไม่สามารถอาศัยเสียง ส.ว.สนับสนุนได้
ฝืนไปทำไม แก้ไขดีกว่า มันผิดหลักประชาธิปไตย
ผิดหลักพรรคกล้า ตามหลักปฏิบัตินิยม เพราะปฏิบัติไม่ได้
แลกเปลี่ยนพูดคุยกับแบบนี้ แก้ไขรัฐธรรมนูญเสียให้สิ้น สังคมถึงไปต่อได้.
ทีมการเมือง
"สอง" - Google News
August 03, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/3foM7Gr
บนทางสองแพร่ง ขั้วทางเลือกการเมืองคนรุ่นใหม่ - ไทยรัฐ
"สอง" - Google News
https://ift.tt/3cPqHBD
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3d22Xu4
Bagikan Berita Ini
0 Response to "บนทางสองแพร่ง ขั้วทางเลือกการเมืองคนรุ่นใหม่ - ไทยรัฐ"
Post a Comment