ประเด็นที่กล่าวถึงนั่นคือ การชงให้มีการยกเลิกโควตาบรรจุนักกีฬา ที่ทำประโยชน์เพื่อชาติ เข้าบรรจุรับราชการตำรวจและทหาร
จริงอยู่ว่าที่ผ่านมา นักกีฬาบางส่วนได้รับการบรรจุง่ายเกินไป บางคนรับราชการก็จริง แต่มีจ๊อบนอกบ่อยเหลือเกิน ไม่รู้ว่าเอาเวลาราชการไปทำประโยชน์ด้านไหน แต่อยู่ ๆ ไปยศพุ่งเร็วซะเหลือเกิน ขึ้นนายร้อย-นายพันได้อย่างน่าประหลาดใจ
แต่อย่าลืมว่า ยังมีนักกีฬาบางส่วน ที่ทำประโยชน์เพื่อชาติ และพอมารับราชการก็ทำประโยชน์เพิ่มเติมในหน้าที่ได้ด้วย แต่กลับไร้ซึ่งการเหลียวแล ความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การ เงินเดือนขึ้นช้าอย่างกับเต่าคลาน
นั่นเป็นเพราะ เขาอาจจะไม่ดัง ไม่ได้เหรียญทองเอเชียนเกมส์ หรือโอลิมปิก แต่อย่างน้อยก็ติดทีมชาติมานาน สร้างชื่อเสียงในระดับชาติอยู่ไม่น้อย ดังนั้นการปูนบำเหน็จจึงควรมีอยู่
ข้อดีของนักกีฬาเหล่านี้คือ จริงใจ ขยัน ไม่เอาเวลาราชการไปรับจ๊อบนอก ทำชื่อเสียงส่วนตัวให้กับตัวเอง และทำงานเต็มเวลา ดังนั้นหากจะยกเลิกโควตานี้ไปเลย เกรงว่าจะไม่ใช่การตอบโจทย์ที่คณะกรรมการตั้งเอาไว้
เพราะนอกจากจะมีการงานเลี้ยงชีพแล้ว อย่างน้อยสวัสดิการของข้าราชการเบี้ยน้อยหอยน้อย ยังจุนเจือไปถึงพ่อแม่ และครอบครัวได้ตัว
ถ้าคณะกรรมการชุดนี้ จะตั้งข้อสันนิษฐานเอาไว้ว่า การที่นักกีฬามารับราชการหลังเลิกเล่น จะเป็นการไม่ได้ใช้วิชาความรู้มาพัฒนาวงการกีฬาเท่าที่ควร ข้อนี้บอกเลยว่า “มองผิดไปโดยสิ้นเชิง”
เพราะการที่อดีตนักกีฬา รับราชการหลังเลิกเล่นแล้วกลับมาเป็นโค้ช การขอตัวมาช่วยงานตามสมาคมฯ จะง่ายกว่า และเอื้อประโยชน์กับทั้งตัวนักกีฬา โค้ช และต้นสังกัดที่สุด
ยกตัวอย่างเช่น อดีตนักมวยสากลสมัครเล่นทีมชาติไทยหลายราย ที่รับราชการหลังเลิกเล่น แต่ทุกวันนี้ยังเข้ามาช่วยเป็นโค้ชทีมชาติไทยอยู่ ไม่ว่าจะเป็น วิจารณ์ พลฤทธิ์ หรือ สุบรรณ พันโนน เป็นต้น
ขณะที่ในอีกด้าน ถ้าโค้ชคนนั้น ทำงานบริษัทเอกชน และสมาคมกีฬาขอตัวมาช่วยคุมทีม เป็นเวลาสักครึ่งเดือน ถ้าองค์กรนั้น ผู้บริหารไม่รัก ไม่บ้า ไม่ชอบกีฬาอย่างแท้จริง อย่าคิดนะครับว่าเขาจะยอมปล่อยตัวมาง่ายๆ
คิดในแง่ผู้บริหารบริษัทเอกชน การจะปล่อยพนักงานของตัวเอง ออกมารับงานนอกเป็นเวลานาน เขาคงไม่ยอมจ่ายเงินเดือนให้แน่ๆ เพราะนั่นจะเป็นการเอาเปรียบพนักงานคนอื่น ที่ทำงานเต็มเวลา
ส่วนที่ท่านบอกว่า “อยากให้เป็นอาชีพมากที่สุด” และ “ในลำดับต่อไปจะมีแผนออกมาช่วยเหลืออยู่แล้ว” ถามจริงๆ ว่า กีฬาอาชีพของไทยในขณะนี้ เลี้ยงตัวเองได้แค่ไหนกัน???
ถ้าไม่นับกีฬามวยไทย ฟุตบอลอาชีพ (ไทยลีก 1) นอกนั้นแทบจะไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้เลย ยิ่งทำงานโค้ชยิ่งแล้วใหญ่ ขณะกีฬา “ตะกร้อ” ที่ไทยเป็นเบอร์ 1 โลก ชาติอื่นนับหน้าถือตา แต่รายได้ของนักกีฬาโดยเฉลี่ย แทบไม่ต่างอะไรกับค่าแรงขั้นต่ำด้วยซ้ำ
บางคนที่เล่นในลีกอาชีพ ยังคงพึ่งพาการเล่นแบบเดินสายไปด้วย เพื่อหารายได้เสริม จะรอแค่การเล่นในฤดูกาลปกติ รับรองว่าเงินไม่พอยาไส้ทั้งตัวเองและครอบครัวแน่ๆ
ซึ่งหากจะเปลี่ยนจริงๆ ขออนุญาตเสนอแนวทางว่า ควรมีการคัดกรองที่ชัดเจนมากขึ้น เช่น การสอบวัดเกณฑ์ความรู้ควบคู่ ไม่ใช่ดูแค่ผลงานในสนาม หรือการกำหนดมาตรฐานที่จับต้องได้ น่าจะดีกว่าตัดโควตาบรรจุราชการทิ้งไปเลย
ทุกอย่างมันเปรียบเหมือนเหรียญสองด้าน มีข้อดี และข้อด้อย ด้วยกันทั้งนั้น
หากคณะกรรมการชุดนี้จะเข้ามาเปลี่ยนแปลง ก็อยากกราบเรียนท่านให้ศึกษาอย่างละเอียด รอบคอบ และรอบด้านที่สุด เพราะบางทีการตัดสินใจครั้งนี้ อาจชี้วัดการอยู่รอดของนักกีฬาทั้งครอบครัวเลยก็ได้.
"สอง" - Google News
September 03, 2020 at 06:00AM
https://ift.tt/3jCIy1K
ทางสองแพร่ง.... อนาคตนักกีฬาไทย - ไทยรัฐ
"สอง" - Google News
https://ift.tt/3cPqHBD
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3d22Xu4
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ทางสองแพร่ง.... อนาคตนักกีฬาไทย - ไทยรัฐ"
Post a Comment