Search

สกู๊ปหน้า 1 : เส้นทางสู่วัคซีนโควิด พิชิตศึกการกลายพันธุ์ - ไทยรัฐ

refe.prelol.com

แต่การทดลองนี้กว่าจะเป็น “วัคซีนโควิด-19” นักวิจัยทั่วโลกต่างค้นหากระบวนการพัฒนาการทดลอง เพื่อให้มีประสิทธิภาพ ในเส้นทางสู่วัคซีนนี้ ดร.สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะทำงานโครงการสนับสนุนข้อมูลวิจัยเชิงลึกด้านเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สกสว. ให้ข้อมูลว่า...

นับตั้งแต่โควิด-19 ระบาดนี้ นักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างก็เร่งคิดค้นวัคซีน เพื่อต้านเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เพราะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยลดความรุนแรง และลดการระบาดของโรคในขณะนี้ ซึ่งวัคซีนโรคโควิด-19 ที่กำลังมีการผลิตและทดสอบในระยะที่ 1 (phase 1 clinical trials) แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่...

ประเภทที่หนึ่ง...inactivated SARS–CoV–2 virus อย่างเช่น PiCoVacc เป็นวัคซีนประเภทวัคซีนเชื้อตาย ที่ผลิตจากการนำไวรัสจากผู้ป่วยมาเพาะเลี้ยงในเซลล์ในห้องปฏิบัติการ นำไปผสมกับสารเบตาโพรพิโอแลกโตน เป็นสารฆ่าเชื้อ เพื่อให้ไวรัสเสียสภาพ ผลิตโดย Sinovac Biotech ขณะนี้การทดสอบวัคซีนในมนุษย์ในประเทศจีน

ประเภทที่สอง...วัคซีนเกิดจากไวรัส ที่ผลิตจากโครงสร้าง หรือองค์ประกอบของไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ประเภทย่อยคือ แบบที่หนึ่ง...วัคซีนที่ผลิตจากสารพันธุกรรม เช่น RNA หรือ DNA ของไวรัส ตัวอย่างวัคซีนในกลุ่มนี้ เช่น วัคซีน mRNA-1273 ที่ผลิตโดยนำ RNA ของไวรัสไปบรรจุใน liquid nanoparticle (LNP)

ผลิตโดย Moderna/NIAID และกำลังมีการทดสอบในประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนวัคซีน INO-4800 ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็น DNA plasmid มีระบบการนำสู่เซลล์โดยใช้ปืนยิงที่หน้าตาละม้ายคล้ายปืนอินฟราเรดวัดไข้ หรือ DNA electroporation กระตุ้นปล่อยไฟฟ้าอ่อนให้เซลล์เปิดรับ DNA vaccine เข้าสู่เซลล์

นอกจากนี้ยังมีวัคซีนที่พัฒนาโดยใช้สารพันธุกรรมของไวรัสโดย BioNTech, Fosun Pharma, Pfizer ประเทศเยอรมนี และ Symvivo Corporation ของประเทศแคนาดา

แบบที่สอง...วัคซีนผลิตจาก viral particle หรือ viral vector ในการแสดงออกโปรตีนของ SARS-CoV-2 virus เพื่อใช้เป็นพาหะนำส่งแอนติเจน กระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ตัวอย่าง...วัคซีนในกลุ่มนี้ เช่น Ad5-nCoV

ซึ่งผลิตโดยบริษัท Cansino biological/Beijing IoB/Academy of Military Medical School/Tongji medical college ประเทศจีน และ ChAdOx1 nCoV-19 ที่ผลิตโดย University of Oxford ประเทศอังกฤษ ซึ่งวัคซีนเหล่านี้กำลังมีการทดสอบในประเทศจีน และอังกฤษ ตามลำดับต่อเนื่อง

อีกทั้งยังมีการใช้ไวรัสชนิดอื่น เช่น lentivirus เป็นพาหะอีกด้วย วัคซีนกลุ่มนี้ได้แก่ LV-SMENP และ Covid-19/aAPC ผลิตโดยบริษัท Sjenzen Geno-immune medical institute ประเทศจีน วัคซีนนี้พิเศษกว่าวัคซีนแบบอื่นๆคือ มีการแสดงออกยีนหลายยีน ซึ่งประกอบด้วยยีนของไวรัสเอง และยีนที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน

ในการไปกระตุ้นการทำงานเซลล์เม็ดเลือดขาว เช่น dendritic cell และ T cell/antigen presenting cells วัคซีนกลุ่มนี้มีการทดสอบในจีนเช่นกัน

ตามข้อมูลจาก “องค์การอนามัยโลก” และจากฐานข้อมูล Wikipedia รายงานว่า ตั้งแต่มีนาคม 2563 มีวัคซีนที่อยู่ระหว่างกำลังทดสอบขั้นที่ 1 อย่างน้อย 11 ชนิด ข้อมูล ณ วันที่ 29 เมษายน 2563 ซึ่งการทดสอบขั้นนี้จะช่วยให้ทราบว่า “วัคซีนที่ผลิตขึ้นมีความปลอดภัย และกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้หรือไม่”

ประเด็นชวนติดตาม...น่าจะทราบคำตอบได้ภายในเดือนธันวาคม 2563 จนถึงมิถุนายน ปี 2564 หลังจากนั้นคงต้องมีการนำวัคซีนมาใช้ทดสอบและศึกษาประสิทธิภาพในการป้องกันโรค หรือ clinical trails phase 2 และ 3 ต่อไป ซึ่งน่าจะกินเวลาทดสอบอีกอย่างน้อย 12-18 เดือน

“ส่วนวัคซีน...อยู่ระหว่างการผลิต และกำลังรอทดสอบในขั้นพรีคลินิก 70 ประเภท เห็นได้ว่า...“การผลิตวัคซีน” ไม่ใช่เรื่องง่าย จำเป็นต้องอาศัยเวลา และงบประมาณมหาศาล แต่เมื่อประสบความสำเร็จแล้ว วัคซีนที่มีประสิทธิภาพ แม้เพียง 1 ชนิดเดียว จะมีประโยชน์มหาศาลช่วยชีวิตคนนับแสนๆชีวิตก็ได้” ดร.สิทธิพรว่า

ก่อนหน้านี้มีรายงานอ้างผลการศึกษา ม.หางโจว มณฑลเจ้อเจียง ระบุเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19” ได้กลายพันธุ์แล้วอย่างน้อย 33 สายพันธุ์ ตามสภาพการติดต่อในหลายพื้นที่ของโลก อาจทำให้กระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 และการผลิตวัคซีนต่างสายพันธุ์กันอาจยุ่งยากซับซ้อนขึ้นอีก

ในเรื่องการกลายพันธุ์ของโควิด-19 จะไม่เป็นอุปสรรคของการ “ผลิตวัคซีน” ในการยับยั้งการระบาดของโรคนี้ ยกตัวอย่าง...“นักวิทยาศาสตร์ในประเทศจีน” มีการ “ผลิตวัคซีน PiCoVacc” ซึ่งเป็นวัคซีนประเภทวัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine) ได้สำเร็จ ด้วยการนำวัคซีนชนิดนี้นำไปฉีดทดสอบกับลิงวอก พบว่า...

มีการกระตุ้นในการสร้างภูมิคุ้มกันในเลือด และป้องกันลิงวอกให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19

อีกทั้งยังมีการทดสอบต่ออีก...ด้วยการ “นำภูมิคุ้มกันในเลือดของลิงวอก” นำมาทดสอบของการยับยั้งเชื้อไวรัสโควิด-19 ในห้องปฏิบัติการ จากการนำเชื้อโควิด-19 มาจากประเทศต่างๆทั่วโลก ที่มีการกลายพันธุ์มากว่า 10 ชนิด ปรากฏว่า... สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัสได้ทุกสายพันธุ์อย่างดีเยี่ยม

นั่นหมายความว่า...หากมีการฉีด “ในคน” ทำให้มีความหวังว่า... “วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันนี้” จะสามารถกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ทุกสายพันธุ์ที่มีการกลายพันธุ์ออกไปอยู่ทั่วโลกในขณะนี้เช่นกัน

จริงๆแล้ว...ในเรื่องการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ที่มีอยู่ทั่วโลกนี้ มีลักษณะการกลายพันธุ์แตกต่างกันแต่ละพื้นที่ที่น้อยนิดมาก เชื่อว่า...หากหยิบสายพันธุ์ใดมาในการทดลองก็สามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ ซึ่งเป็นข้อดีของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีการกลายพันธุ์ช้ามาก หากเปรียบเทียบกับการกลายพันธุ์ของ “เชื้อไข้หวัด”...

ฉะนั้นก็มีความหวังอยู่ว่า...ในการทดสอบวัคซีนชนิดใดก็ตามที่ออกมาสู่ตลาด เมื่อฉีดให้กับคนแล้ว จะสามารถมีภูมิคุ้มกันได้ดีและมีประสิทธิภาพควบคุมได้นานแน่นอน แตกต่างจาก “ไข้หวัดใหญ่” ที่ต้องมีการผลิตวัคซีนหลายเวอร์ชัน เพราะเชื้อไวรัสมีการกลายพันธุ์เร็ว ที่ต้องมีการปรับปรุง “วัคซีน” เปลี่ยนไปเรื่อยๆทุกปี

ปัจจุบันนี้...ในเรื่องวัคซีนโควิด-19 มีการทดลองวัคซีนในคนขั้นที่ 1 อยู่หลายประเทศ และประมาณ ม.ค.2564 ถ้าวัคซีนของประเทศจีน หรือประเทศสหรัฐอเมริกา มีการทดสอบประสบความสำเร็จ อาจจะแจกจ่ายให้กับหลายประเทศ ในการทดสอบกับคนกลุ่มใหญ่ขั้นที่ 2 ในจำนวนนี้อาจมีการทดสอบกับอาสาสมัครคนไทยด้วย...

เพื่อติดตามประสิทธิผลของ “วัคซีน” สามารถสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโควิด-19 ได้หรือไม่ ซึ่งมีการทดลองนี้ราว 1 ปี กระทั่งประมาณเดือน ธ.ค.2564 ก็น่าจะมีผลการทดสอบเพียงพอสรุปได้ หากวัคซีนต้านโควิด-19 ประสบความสำเร็จ ก็คาดว่า...ต้นปี 2565 ก็น่าจะมีการจำหน่ายออกขายสู่ตลาดวงการการแพทย์ทั่วโลก

ในบางประเทศ “รัฐบาล” อาจต้องบังคับทุกคน...รับการฉีดวัคซีน โควิด-19 ป้องกันด้วยซ้ำ...

ประเด็นสำคัญ...สถานการณ์ในไทยยังไม่น่าห่วงมากนัก ถ้าเทียบกับสหรัฐอเมริกา บราซิล รัสเซีย หรือในยุโรป เพราะมีผู้ติดเชื้อลดน้อยลง...แต่ตราบใดก็ตาม “รัฐบาล” คิดว่า...“เปิดประเทศ” หรือ “รับแรงงานต่างด้าว” กลับเข้ามาแบบ “ไม่ตรวจ หรือกักตัว 14 วัน” ตรงนี้เป็นเรื่องน่ากลัวมากที่สุด...

สุดท้ายนี้...แม้ว่าจะยังไม่มีวัคซีน แต่โรคโควิด-19 ก็สามารถป้องกันได้ เพียงแค่พยายามให้ตนเองห่างไกลจากโรคเข้าไว้ ในการลดหลีกเลี่ยงการไปพื้นที่ชุมชน พยายามหมั่นล้างมือ และสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งก่อนออกจากบ้าน เพื่อความปลอดภัยของผู้อื่นและตัวเราเอง

ส่วนเรื่อง “วัคซีน” ถ้าผลทดสอบที่ดี มีประสิทธิภาพ...เราน่าจะมีวัคซีนโควิด–19 อย่างเร็วที่สุดประมาณปี 2022 นี้...

Let's block ads! (Why?)



"พิชิต" - Google News
May 30, 2020 at 05:01AM
https://ift.tt/2ZTybjt

สกู๊ปหน้า 1 : เส้นทางสู่วัคซีนโควิด พิชิตศึกการกลายพันธุ์ - ไทยรัฐ
"พิชิต" - Google News
https://ift.tt/2TwDilR
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3d22Xu4

Bagikan Berita Ini

0 Response to "สกู๊ปหน้า 1 : เส้นทางสู่วัคซีนโควิด พิชิตศึกการกลายพันธุ์ - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.