Credit : NASA/CXC/SAO/V.Parekh, et al
กระจุกกาแล็กซีเป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในเอกภพ หรือจักรวาล รวมตัวกันด้วยแรงโน้มถ่วง กระจุกกาแล็กซีประกอบด้วยกาแล็กซีหลายร้อยหรือหลายพันแห่ง อุดมด้วยก๊าซหลายล้านองศา เป็นแหล่งกักเก็บขนาดใหญ่ของสสารมืดที่มองไม่เห็น แต่มีวัตถุหนึ่งชื่อ Abell 2384 ตั้งอยู่ห่างจากโลก 1,200 ล้านปีแสง นัก ดาราศาสตร์คิดว่าวัตถุนี้สำคัญต่อการเข้าใจการเติบโตของกระจุกกาแล็กซี
ระบบของ Abell 2384 บ่งชี้ว่าโครงสร้างมหึมานี้อาจเกิดจากกลุ่มกาแล็กซี 2 แห่งชนกันเมื่อหลายร้อยล้านปีก่อน เหตุการณ์อันยิ่งใหญ่นี้ปล่อยก๊าซร้อนจากกลุ่มกาแล็กซีแต่ละแห่งให้ก่อตัวเป็นสะพานโค้งงอผิดปกติระหว่างวัตถุทั้งสอง ขณะนี้สะพานก๊าซกำลังถูกอัดด้วยอนุภาคที่ถูกขับออกจากหลุมดำมวลยวดยิ่งที่ใจกลางกาแล็กซีแห่งในหนึ่งในกระจุกกาแล็กซีเหล่านี้ สะพานก๊าซที่มีความร้อนสูงใน Abell 2384 แสดงในภาพที่ประกอบกันขึ้นจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศจันทราขององค์การนาซา และยาน XMM-Newton ขององค์การอวกาศยุโรป รวมถึงกล้อง Giant Metrewave Radio Telescope (GMRT) ในอินเดีย
ทีมนักดาราศาสตร์เผยว่า ก๊าซที่ทรงพลังสามารถงอโค้งรูปเป็นสะพานก๊าซ เกิดขึ้นยืดเยื้อมานานกว่า 3 ล้านปีแสง และประเมินว่ามวลรวมของ Abell 2384 ที่มีทั้งสสารมืด ก๊าซร้อน และกาแล็กซีแต่ละแห่งนั้นอยู่ที่ 260,000,000 ล้านเท่าของมวลดวงอาทิตย์.
อ่านเพิ่มเติม...
"สอง" - Google News
May 27, 2020 at 10:01AM
https://ift.tt/3gtpUsg
สะพานเชื่อมระหว่างสองกระจุกกาแล็กซี - ไทยรัฐ
"สอง" - Google News
https://ift.tt/3cPqHBD
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3d22Xu4
Bagikan Berita Ini
0 Response to "สะพานเชื่อมระหว่างสองกระจุกกาแล็กซี - ไทยรัฐ"
Post a Comment