นำลัทธิมาร์กซ์ สู่ หูหนาน (71) - ข้อมูลอันมาจาก จุง ชาง จอน ฮัลลิเดย์ ในห้วงที่เหมาเป็นครูสอนวิชาประวัติศาสตร์ รายละเอียดสอดรับกับของ เชาวน์ พงษ์พิชิต ตรงกับของ ทวีป วรดิลก
จะแตกต่างก็เพียง “ความเห็น” และข้อมูลในลักษณะ “พิเศษ”
อย่างเช่นที่อ้างจากฐานความจำของ “นักเรียนคนหนึ่ง” ที่ว่า สภาพของเหมาดูกระเซอะกระเซิง ถุงเท้าขาดเป็นรู และสวมรองเท้าทำจากผ้าฝ้ายทอมือที่พร้อมจะฉีกขาดได้ทุกเมื่อ
นี่ก็ตรงกับ เชาวน์ พงษ์พิชิต นี่ก็ตรงกับ ทวีป วรดิลก
ยืนยันอย่างเดียวกันว่า เหมาได้เงินเดือนน้อยมาก จนแต่ละวันกินข้าวสวยได้เพียงมื้อเดียว อีกมือหนึ่งกินได้แต่ถั่วปากอ้าซึ่งมีราคาถูกกว่ากันมาก
กระนั้น ความน่าสนใจเป็นอย่างมาก ระหว่าง เชาวน์ พงษ์พิชิต กับ ทวีป วรดิลก
ยังเป็นข้อมูลที่ ทวีป วรดิลก ระบุถึงข้อเขียน 2 ชิ้นที่เหมาพกติดตัวจากปักกิ่ง อันเป็นงานเขียนของหลีต้าเจา คือ บทความ “ชัยชนะของประชาชนสามัญ” กับ “ชัยชนะของลัทธิบอลเชวิสม์”
อัน เชาวน์ พงษ์พิชิต ย้ำ เหมาได้นำเอาบทความโฆษณาลัทธิมาร์กซ์ของหลี่ต้าเจามาที่ฉางซา
ยิ่งกว่านั้น ข้อมูลที่ควรให้ความสนใจอย่างเป็นพิเศษ คือ ที่ เชาวน์ พงษ์พิชิต เน้นว่า เหมาได้ไ
ปาฐกถาในเรื่อง “ลัทธิมาร์กซ์กับการปฏิวัติ” ที่สมาคมวิทยาการประชาชนแนวใหม่ ซึ่งก็คือ ซินหมินเซียะฮุ่ย
น่าจะเป็นการขยายความจากบทความของหลี่ต้าเจาใน “ซินซิงเหนียง”
ขณะเดียวกัน อีกจุดหนึ่งซึ่งสำคัญเป็นอย่างมาก ทวีป วรดิลก เปิดเผยว่า ในเดือนเมษายน 1919 กลุ่มศึกษาลัทธิมาร์กซ์ในมณฑลหูหนานก็ได้เริ่มจัดตั้งขึ้นเป็น ครั้งแรก
นี่คือภารธุระอันเหมาได้มาในห้วงที่พำนักอยู่ปักกิ่ง
ไม่ว่าสมาคมศึกษาจีนใหม่อันเหมาจัดตั้งไว้แต่เดิม กับ สมาคมใหม่ที่จัดตั้งขึ้นคือ สมาคมทำงาน และศึกษา สมาคมกระแสใหม่ (สาขาหูหนาน)
ล้วนแล้วแต่หันมาศึกษาและทำความเข้าใจต่อลัทธิ มาร์กซ์กันทั้งสิ้น
คำถามที่ตามมาก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ที่การเดินทางจากปักกิ่งมายังฉางซาในเดือนเมษายน 1919 ของเหมาเป็นการเดินทางอย่างมีภารธุระในทางความคิด ในทางการเมือง
โดยเฉพาะเมื่อมองผ่าน “กลุ่มศึกษาลัทธิมาร์กซ์” ในหูหนาน
หนังสือ “ประวัติการพัฒนาแนวทางหลักของพรรคคอมมิวนิสต์จีน” ของ หวง ฉี ปิง ซึ่งจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แสงดาวเมื่อปี 2562 บทที่ 1 ลัทธิมาร์กซ์ : แนวคิดชี้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ในตอนว่าด้วย “หน่ออ่อนของลัทธิมาร์กซ์ในประเทศจีน”
วันที่ 15 กันยายน 1915 เฉินตุ๊ซิ่ว ปัญญาชนคนสำคัญในยุคนั้นได้ก่อตั้งนิตยสารสำหรับเยาวชนขึ้นที่เซี่ยงไฮ้ชื่อ “ซิงเหนียนจ๋าจื้อ” (นิตยสารเยาวชน)
ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “ซินซิงเหนียง” (เยาวชนใหม่)
เนื้อหาส่วนใหญ่นำเสนอหลักคิดบนพื้นฐานของทฤษฎีว่าด้วยวิวัฒนาการ เรียกร้องให้เยาวชนลุกขึ้นก่อกระแสคัดค้านประเพณีเก่าต่างๆ ที่คร่ำครึ
คัดค้านลัทธิขงจื่อ ปลดโซ่ตรวนที่พันธนาการจิตวิญญาณของคนจีนออกให้หมด
“ซินซิงเหนียง” จุดประกายให้เยาวชนจีนเกิดความรู้สึกที่รุนแรง ออกมาเคลื่อนไหวเผยแพร่แนวคิดสมัยใหม่ที่ก้าวหน้ากันอย่างครึกโครม คนทั้งหลายเรียกการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมนี้ครั้งนี้
ว่าเป็น “การเคลื่อนไหวเปิดประตูทางความคิด”
ปัญญาชนจีนที่ส่งอิทธิพลต่อความคิดของเยาวชนรุ่นใหม่มากที่สุดในขณะนั้น คือ เฉินตุ๊ซิ่ว ในฐานะบรรณาธิการซินซิงเหนียง และหลี่ต้าเจา บรรณารักษ์ห้องสมุดมหาวิทยาลัยปักกิ่ง
หลี่ต้าเจาถือได้ว่าเป็นปัญญาชนคนแรกที่เผยแพร่ลัทธิมาร์กซ์ในจีน
บทบาทสำคัญที่สุดอยู่ระหว่างเดือนกรกฎาคม-พฤศจิกายน 1918 ซึ่งเป็นช่วงที่บทความสำคัญๆ ของเขาได้รับการตีพิมพ์ออกมาเป็นจำนวนมาก
ไม่ว่าจะเป็นบทความ “เปรียบเทียบการปฏิวัติของฝรั่งเศสกับรัสเซีย”
ไม่ว่าจะเป็นบทความ “ชัยชนะของสามัญชน” และ “ชัยชนะของลัทธิบอลเชวิค” ล้วนแล้วแต่ชี้ให้เห็นคุณค่าและความหมายของการปฏิวัติเดือนตุลาคมในรัสเซียด้วยมุมอันลึกซึ้ง
อย่าลืมเป็นอันขาดว่าหลี่ต้าเจาคือผู้บังคับบัญชาโดยตรงของเหมาที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง
"พิชิต" - Google News
July 19, 2020 at 06:33PM
https://ift.tt/39baxl3
นำลัทธิมาร์กซ์ สู่ หูหนาน (71) - ข้อมูลอันมาจาก จุง ชาง จอน ฮัลลิเดย์ ในห้วงที่ - ข่าวสด
"พิชิต" - Google News
https://ift.tt/2TwDilR
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3d22Xu4
Bagikan Berita Ini
0 Response to "นำลัทธิมาร์กซ์ สู่ หูหนาน (71) - ข้อมูลอันมาจาก จุง ชาง จอน ฮัลลิเดย์ ในห้วงที่ - ข่าวสด"
Post a Comment