Search

เช็กสัญญาณระบาด โควิด-19 ระลอกสอง - ไทยรัฐ

refe.prelol.com

นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค และ รศ.นพ.สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี บอกว่า กรณีที่มีรายงานข่าวว่าพบหญิงไทยตรวจพบสารพันธุกรรมของเชื้อ “โควิด–19” ขณะเตรียมตัวเดินทางไปทำงานต่างประเทศนั้น กรมควบคุมโรค ขอให้ข้อมูลเบื้องต้นว่า...

ตามที่โรงพยาบาลรามาธิบดีได้ทำการตรวจสุขภาพหญิงไทย 2 ราย อายุ 34 และ 35 ปี ซึ่งมาขอใบรับรองแพทย์ประกอบการเดินทางไปทำงานที่ต่างประเทศ

โดยมีการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทางห้องปฏิบัติการ และผลพบสารพันธุกรรมในปริมาณน้อย จากข้อมูลการสอบถามทั้งสองรายนี้...“ไม่มีไข้ ไม่มีอาการป่วยทางเดินหายใจ” และอยู่ระหว่างการส่งตัวอย่างตรวจยืนยันด้วยวิธีการเพาะเชื้อ เพื่อประกอบการสรุปผลการวินิจฉัยต่อไป

ขณะนี้ทั้งสองรายอยู่ในการดูแลของแพทย์ที่โรงพยาบาล โดยได้แจ้งข้อมูลให้กับกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขทราบและตรวจสอบข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

รศ.นพ.สุรศักดิ์ แจกแจงว่า รายแรก เป็นเพศหญิง อายุ 34 ปี เคยทำงานที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เดินทางกลับมาไทยเมื่อวันที่ 2 มิ.ย.63 ไม่มีอาการ เข้ากักตัวที่สถานกักกันที่ราชการกำหนด 2 สัปดาห์ ทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ครั้งที่ 1 วันที่ 5 มิ.ย. ตรวจพบสารพันธุกรรมปริมาณน้อย

สรุป...ผลการตรวจหาเชื้อกำกวม (Inconclusive result) และตรวจครั้งที่ 2 วันที่ 13 มิ.ย. ผลไม่พบเชื้อ เมื่อกักกันครบ 2 สัปดาห์ ได้รับอนุญาตเดินทางกลับภูมิลำเนา จังหวัดชัยภูมิ และพักแยกตัวจนครบ 30 วัน

ต่อมาในวันที่ 17 ส.ค.63 เตรียมตัวเดินทางไปต่างประเทศ จึงได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ รพ.รามาธิบดี ผลการตรวจวันที่ 18 ส.ค.63 พบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด-19 ในปริมาณน้อย และเจาะเลือดตรวจพบภูมิคุ้มกัน ขณะนี้แพทย์รับไว้ดูแลในโรงพยาบาล

จึงสรุปว่าเป็น “ผู้ติดเชื้อรายเดิม” ที่พบซากเชื้อและเคยอยู่ในสถานที่กักกันจนครบกำหนดแล้ว

ส่วนในรายที่ 2 เป็นเพศหญิง อายุ 35 ปี เคยทำงานที่ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เดินทางกลับไทยเมื่อวันที่ 24 มิ.ย.63 เข้ากักตัวที่สถานกักกันที่ราชการกำหนดนาน 2 สัปดาห์ ทำการตรวจหาเชื้อ 2 ครั้ง ไม่พบเชื้อ จึงได้รับอนุญาตเดินทางกลับภูมิลำเนา จังหวัดเลย

จากนั้นวันที่ 16 ส.ค.63 เดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยรถยนต์ส่วนตัว เพื่อเตรียมตัวเดินทางไปทำงานต่างประเทศ และในวันที่ 18 ส.ค.63 ได้เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 พบสารพันธุกรรม

รพ.รามาธิบดีได้ติดตามนำตัวมาไว้ดูแลที่โรงพยาบาลแล้ว จากข้อมูลทางระบาดวิทยาคาดว่า มีโอกาสที่จะเป็นการ “ติดเชื้อในประเทศ” ได้ “น้อยมาก”...อย่างไรก็ตาม ต้องทำการตรวจสอบโดยกระบวนการเดียวกับรายแรก เมื่อได้ผลเป็นอย่างไรจะแจ้งให้ทราบต่อไป

นายแพทย์สุวรรณชัย ย้ำว่า หลังจากได้รับรายงานในเรื่องนี้ ทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรคของกรมควบคุมโรค ได้ทำการสอบสวนเบื้องต้นเพื่อให้ได้ประวัติเสี่ยง และผู้อยู่ใกล้ชิดกับผู้หญิงสองรายนี้

ขณะนี้ได้ดำเนินการประสานกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อ “ค้นหา” และ “ติดตาม” ตัวผู้อยู่ใกล้ชิดในครอบครัว...ชุมชน พร้อมสอบสวนเพิ่มเติมและแนะนำให้เฝ้าระวังอาการ ปฏิบัติตัวป้องกันโรคต่อไป

ขอให้ประชาชนมั่นใจในมาตรฐานการป้องกันควบคุมโรคของประเทศไทยที่มีระบบเข้มแข็ง และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนกำลังเร่งดำเนินการอย่างเต็มที่เพื่อสอบสวนและควบคุมโรค “โควิด–19”

ขอให้ประชาชนดูแลป้องกันตนเอง ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัดต่อเนื่องเช่นเดิม “สวมหน้ากาก ล้างมือ แยกของใช้ เว้นระยะห่าง ลดแออัด”...หากประชาชนมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ ฝากไว้ว่า ข้อสำคัญที่ต้องติดตามไม่ใช่ขณะนี้เป็นซาก (ไวรัสโควิด-19) หรือไม่? ที่ต้องติดตามคือ ก่อนหน้าเป็นซาก ไปได้เชื้อจากไหน และแพร่ไปได้หรือไม่?

การที่พบหลักฐานการติดเชื้อโดยการตรวจเลือด และเจอ IgG แต่ยังตรวจเชื้อเจอ ระบุไม่ได้ว่า นั่นคือ “ซาก” หรือไม่ เป็นคนละเรื่องกัน

“แม้ว่าจะเจอ Neutralizing antibody...แอนติบอดีที่สามารถยับยั้งไวรัสนั้นๆ ไม่ให้เข้าไปติดเซลล์มนุษย์ได้ ซึ่งเป็นภูมิจริงที่ยับยั้งไวรัสได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นปล่อยเชื้อไม่ได้ คนไข้มากมายที่แม้มีภูมิชนิดนี้ก็ปล่อยเชื้อได้ และยังติดต่อคนอื่นได้”

การตรวจที่แม่นยำว่ามีการติดเชื้อโควิด-19 หรือไม่ ต้องประกอบไปด้วย หนึ่ง...การหาเชื้อแยงจมูก...คอ RT-PCR เพื่อดูว่ามีเชื้อปล่อยออกมาหรือไม่?

สอง...การตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อหรือไม่?...

IgM...ภูมิคุ้มกันตัวแรกที่ร่างกายสร้างขึ้นจากลิมโฟไซต์ เพิ่งติดเชื้อมาหมาดๆ กำลังแพร่เชื้อ หรือรอที่จะแพร่เชื้อ IgG...ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อต่อต้านสิ่งแปลกปลอม ติดมาระยะหนึ่งอาจยังคงแพร่เชื้อได้...Neutralizing antibody มีภูมิจริงที่ยับยั้งไวรัสได้แต่ไม่ได้หมายความว่าขณะนั้นปล่อยเชื้อไม่ได้”

คนไข้มากมายที่แม้มี “ภูมิ” ชนิดนี้ก็ “ปล่อยเชื้อ” ได้

ในกรณีที่เริ่มมีการแพร่กระจาย ต้องการการตรวจคัดกรองที่รวดเร็ว ต้องไม่หลุดคือ การตรวจเลือดปลายนิ้วเช่นของจุฬาฯที่ทำโปรตีนจากใบยา แม้จะเจอบวกมากเกินจริง แต่ตรวจซ้ำได้จากการตรวจเลือดมาตรฐานที่ศูนย์โรคอุบัติใหม่โรงพยาบาลจุฬาฯ สภากาชาดไทย ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,000 บาท

ในกรณีจำเป็นของประเทศ ปรับได้เร็วในค่าใช้จ่ายเดิม

ตื่นตัว แต่อย่าตื่นตูม...ตระหนักรู้ การ์ดอย่าตก ยึดหลักปฏิบัติส่วนบุคคลให้เป็นมาตรฐาน ป้องกันการระบาดแพร่เชื้อสู่พื้นที่สาธารณะ เพื่อประโยชน์สูงสุดของคนส่วนรวม.

Let's block ads! (Why?)



"สอง" - Google News
August 22, 2020 at 05:02AM
https://ift.tt/32iP0ns

เช็กสัญญาณระบาด โควิด-19 ระลอกสอง - ไทยรัฐ
"สอง" - Google News
https://ift.tt/3cPqHBD
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3d22Xu4

Bagikan Berita Ini

0 Response to "เช็กสัญญาณระบาด โควิด-19 ระลอกสอง - ไทยรัฐ"

Post a Comment

Powered by Blogger.