Search

โควิด-19: เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2563 ติดลบ 12.2% ต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง - บีบีซีไทย

refe.prelol.com

คนขับแท็กซี่

สภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ประจำไตรมาส 2 ของปี 2563 ว่าติดลบ 12.2% สาเหตุหลักมาจากการปิดเมืองเพื่อควบคุมการระบาดของโควิด-19 ชี้ยังติดลบน้อยกว่าช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง

นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการ สศช. กล่าวในการแถลงข่าววันนี้ (17 ส.ค.) ว่าจีดีพีในไตรมาส 2 (เดือน มี.ค.- มิ.ย.) ของปีนี้ลดลงต่อเนื่องจาก 2.0% ในไตรมาสที่ 1 และคาดว่าประมาณการณ์จีดีพีทั้งปีจะอยู่ที่ติดลบ 7.5%

นายทศพรกล่าวว่า การลดลงของจีดีพีครั้งนี้ยังน้อยกว่าในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ซึ่งติดลบ 12.5%

"ไม่ว่าการบริโภคอุปโภคภาคเอกชน การลงทุน หรือภาคการค้าต่างประเทศ ทุกตัวติดลบหมด เป็นผลจากช่วงที่มีการปิดเมืองจากการระบาดของโควิด รวมทั้งจากสงครามการค้าและภัยแล้ง มีตัวที่ช่วยพยุงสถานการณ์อยู่เพียงปัจจัยเดียวคือการอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาครัฐ" เลขา สศช.กล่าว และเสริมว่าภาคการผลิตในทุกสาขามีอัตราการขยายตัวลดลงหมดเช่นกัน ทั้งภาคอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว โรงแรม และภาคการเกษตร

สำหรับแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจนั้น เลขา สศช.กล่าวว่าจะต้องเน้นเรื่องการขับเคลื่อนเรื่องการส่งออก การแก้ปัญหาเรื่องภัยแล้งด้วยการจัดการน้ำ เร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐให้ได้ตามเป้าที่กำหนดไว้ และต้องป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดรอบที่สองของโควิด-19

"และตัวสุดท้าย จะไม่พูดก็คงไม่ได้ คือ ต้องดูแลรักษาบรรยากาศทางการเมือง เพราะถ้ามีปัจจัยทางการเมือง เกิดความวุ่นวายขึ้นมาอีกก็จะเกิดปัญหาซ้ำเติมภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้" นายทศพรกล่าว

แรงงานในระบบถูกเลิกจ้าง 4.2 แสนคน

สำหรับอัตราการว่างงาน สศช.พบว่าจำนวนผู้มีงานทำลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปี 2562 ประมาณ 7 แสนคน ทั้งในและนอกภาคการเกษตร

เมื่อดูเฉพาะแรงงานในระบบ พบว่ามีผู้ถูกเลิกจ้างประมาณ 4.2 แสนคน ที่เหลืออีกประมาณ 1.7-1.8 ล้านคน มีความเสี่ยงที่จะถูกเลิกจ้างเนื่องจากทำงานในสถานประกอบการณ์ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และไม่สามารถดำเนินกิจการได้ตามปกติ

"(แรงงานที่เสี่ยงถูกเลิกจ้าง) 1.7 ล้านคนนี้ ถ้าสถานการณ์เศรษฐกิจดีขึ้น มีการเปิดเมือง สถานประกอบการสามารถเปิดตัวได้ จำนวนคนที่จะถูกเลิกจ้างก็อาจจะลดน้อยลง" นายทศพรกล่าว

สาขาที่พักแรม-การลงทุนเป็นอย่างไรบ้าง

รายงานของ สศช. ระบุว่าการผลิตในสาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารลดลง 50.2% ปัจจัยหลักมาจากการระบาดของโควิด-19 และการประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน การปิดด่านตรวจคนเข้าเมืองทั่วประเทศ และประกาศห้ามอากาศยานทำการบินเข้าสู่ประเทศ ส่งผลให้ไตรมาสนี้ไม่มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทย ส่วนผู้เดินทางเข้ามาเยี่ยมเยือนไทยมีเพียง 5.6 ล้านคน เทียบกับ 52.3 ล้านคนในไตรมาสก่อนหน้า

การลงทุนลดลง 8.0% ต่อเนื่องจากที่ลดลง 6.5% ในไตรมาสที่ 1/2563 โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลง 15.0% เทียบกับการลดลง 5.4% ในไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัว 12.5% เร่งตัวขึ้นจากการลดลง 9.3% ในไตรมาสก่อนหน้า

โควิด-19 ทำเศรษฐกิจชาติอาเซียนหลายประเทศเข้าสู่ภาวะถดถอย

ผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยเฉพาะในไตรมาสที่ 2 ซึ่งทำให้หลายประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยเชิงเทคนิค และบางประเทศถือว่าตกต่ำที่สุดในรอบหลายสิบปี

สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (14 ส.ค.) ว่า ธนาคารกลางมาเลเซียต้องปรับลดประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจในปีนี้ลดลงกว่าที่เคยคาดการณ์ก่อนหน้านี้ หลังจากจีดีพีในไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา ตกต่ำที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษหลังจากวิกฤตต้มยำกุ้งที่ผ่านมา

ธนาคารกลางมาเลเซียรายงานว่าในไตรมาสที่ 2 ปรับตัวลดลง 17.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเลวร้ายที่สุดนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2541 สาเหตุมาจากในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 การส่งออกได้รับผลกระทบจากภาวะชะงักงันในซัพพลายเชน ในขณะที่การใช้จ่ายของผู้บริโภคก็ลดลงจากมาตรการปิดเมือง

โดยภาพรวมของปีนี้ ธนาคารกลางมาเลเซียคาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจทั้งปีจะเติบโตติดลบ 3.5% - 5.5%

ขณะที่เว็บไซต์เดอะสเตรตส์ไทมส์ของสิงคโปร์ด้านทางการสิงคโปร์ ประกาศตัวเลขจีดีพีในไตรมาสที่ 2 ก็ติดลบเช่นเดียวกัน โดยติดลบ 13.2% ส่งผลให้สิงคโปร์เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิค (technical recession) ครั้งแรกในรอบ 11 ปี และยังจะส่งผลให้ภาพรวมของปีนี้เศรษฐกิจสิงคโปร์ติดลบ 5-7% ย่ำแย่กว่าคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะติดลบเพียง 4-7% และส่งผลต่อภาวะการจ้างงานอีกด้วย

เว็บไซต์นิเคอิ เอเชียน รีวิว รายงานว่า ฟิลิปปินส์ก็เข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคในไตรมาส 2 ปีนี้เช่นเดียวกัน หลังจากตัวเลขจีดีพีติดลบ 16.5% ซึ่งเป็นผลมาจากมาตรการปิดเมืองเพื่อป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 และทำให้ภาพรวมทั้งปีเลวร้ายกว่าที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้มาเป็นติดลบ 5.5%

เว็บไซต์จาการ์ตาโพสต์ของอินโดนีเซีย รายงานว่าจีดีพีไตรมาส 2 ของชาติที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในอาเซียนก็ไม่แตกต่างกันโดยติดลบ 5.32% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ถือว่าต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตการเงินในเอเชียในปี 2541 ขณะที่รัฐบาลคาดว่าทั้งปีดีจีพีจะเติบโตระหว่าง 0.4-1%

ส่วนภาวะเศรษฐกิจของเวียดนามก็ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เช่นกัน โดยสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า จีดีพีในไตรมาส 2 ที่ผ่านมายังคงเติบโต 0.36% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีที่แล้ว ถือว่าเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำสุด อย่างน้อยในรอบ 30 ปี อย่างก็ตามแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศนี้ยังถือว่าอยู่ในเชิงบวกจากการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ที่ระบุว่าทั้งปีเวียดนามจะยังคงเห็นอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ราว 2.7%

IMF คาดเศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำสุดในอาเซียน

หากเทียบกับภาพรวมอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศระบุว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่คาดว่าจะมีอัตราการเติบโตต่ำสุดในภูมิภาคนี้ ด้วยอัตราการเติบโตของจีดีพีติดลบ 7.7% ในขณะที่ เวียดนามจะเป็นชาติที่มีอัตราการเติบโตในแดนบวก 2.7% ร่วมกับอีก 3 ประเทศคือ เมียนมา เติบโต 1.8% บรูไน เติบโต 1.3% และลาวเติบโต 0.7%

เศรษฐกิจไทย vs อาเซียน ปี 2563. เศรษฐกิจไทยเติบโตต่ำที่สุดในอาเซียน. .

ส่วนชาติที่มีอัตราการเติบโตติดลบนอกจากไทย ประกอบด้วย อินโดนีเซีย (-0.3%), กัมพูชา (-1.6%), สิงคโปร์(-3.5%), ฟิลิปปินส์(-3.6%), และมาเลเซีย (-3.8%)

Let's block ads! (Why?)



"สอง" - Google News
August 17, 2020 at 10:33AM
https://ift.tt/3h5Gtul

โควิด-19: เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2563 ติดลบ 12.2% ต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง - บีบีซีไทย
"สอง" - Google News
https://ift.tt/3cPqHBD
Mesir News Info
Israel News info
Taiwan News Info
Vietnam News and Info
Japan News and Info Update
https://ift.tt/3d22Xu4

Bagikan Berita Ini

0 Response to "โควิด-19: เศรษฐกิจไทยไตรมาส 2/2563 ติดลบ 12.2% ต่ำสุดนับตั้งแต่วิกฤตต้มยำกุ้ง - บีบีซีไทย"

Post a Comment

Powered by Blogger.